ผู้เรียนพิการอาชีวะเตรียมรับเงินอุดหนุนทางการศึกษาเป็นครั้งแรก

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามระเบียบ คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่าด้วยการจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2566 และประกาศคณะกรรมการการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ อัตรา และรายการที่ให้การอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอาชีวศึกษา เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาประกาศใช้ต่อไป

เลขาธิการคณะกรรมการการการอาชีวศึกษา กล่าวต่อไปว่า โดยรายละเอียดรายการที่ให้การอุดหนุน ต่อคน/ต่อปี ในทุกหลักสูตรของปีการศึกษา ประกอบด้วย ค่าเล่าเรียน ค่าบำรุงการศึกษา ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ตามรายการและอัตราที่กำหนดในระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศของสำนักงาน สถาบัน หรือสถานศึกษา ตามจ่ายจริงเท่ากับนักเรียนทั่วไป ไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้  ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเฉพาะ (ระยะสั้น) ไป-กลับ 21,000 บาท  หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. ) ไป-กลับ 21,000 บาท อยู่ประจำ 57,000 บาท  โดยในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยี หรือสายปฏิบัติการ มีอัตราการอุดหนุนเท่ากัน ในกลุ่มสาขาวิชา ดังนี้ 1. กลุ่มสังคมศาสตร์  ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ สาขาที่ขาดแคลนและหรือเป็นความต้องการของตลาดแรงงานได้แก่ บัญชี เศรษฐศาสตร์ สารสนเทศ นิติศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ  วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์  ครุศาสตร์อุตสาหกรรม  โลจิสติกส์  ธุรกิจอุตสาหกรรม  อุตสาหกรรมบริการ  และธุรกิจการบิน อัตราการอุดหนุนแบบไป-กลับ 60,000 บาท และแบบอยู่ประจำ 96,000 บาท อื่น ๆ อุดหนุน 50,000 บาท และ 86,000  2.กลุ่มศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์  3.กลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 4 กลุ่มเกษตรศาสตร์ อัตราการอุดหนุนแบบไป-กลับ 70,000 บาท และแบบอยู่ประจำ 106,000 บาท

ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาขีวศึกษา (ศพอ.) จะเร่งดำเนินการนำระเบียบ และประกาศดังกล่าว จัดทำแผนงานเพื่อเสนอขอรับงบประมาณเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอาชีวศึกษา ภายในปีงบประมาณ พ.ศ 2567  – พ.ศ. 2568 ซึ่งอัตราเงินอุดหนุนดังกล่าว จะทำให้คนพิการเกิดความสนใจการศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษา และเข้าถึงการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาทุกระดับอย่างทั่วถึงเพิ่มขึ้น ซึ่งการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา จะช่วยตอบโจทย์ผู้เรียนผู้พิการ ให้สามารถนำความรู้    และทักษะทางวิชาชีพไปประกอบอาชีพต่อไปได้

Next Post

“ศ.ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล” แสดงความยินดี ทัพนักฟุตบอลทีม มกธ. คว้าแชมป์ “ช้าง ยู-แชมป์เปี้ยน คัพ 2023” พร้อมมอบเงินรางวัล 1 แสนบาท มุ่งพัฒนานักกีฬาสู่ความเป็นเลิศอย่างมืออาชีพ

Wed Jul 5 , 2023
ศ.ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (มกธ.) แสดงความยินดี และให้กำลังใจแก่ผู้จัดการทีม โค้ช ผู้ช่วยโค้ช และทัพนักกีฬาฟุตบอลทีมมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีจากการครองถ้วยรางวัลชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลรายการ […]